4 เทคนิค พูดยังไงให้ลดความรุนแรง เมื่อความเห็นไม่ตรงกัน !! l EP.2
หลายต่อหลายครั้ง ที่ทำให้บางคนเกิดบาดแผลในจิตใจ และ ความสัมพันธ์ดีๆกับคนที่คุณรักถูกทำลายลง เพียงเพราะ “คำพูด” ที่พูดเฉือดเฉือน ทิ้มแทงจิตใจแก่ผู้ฟัง ได้มากกว่าที่คิด คำพูดจึงเป็นสิ่งที่เราควรระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับในช่วงเวลาที่มีการโต้แย้ง หรือ มีเหตุไม่ลง ซึ่งกัน
แต่ไม่ใช่ทุกครั้งเสมอไป ที่จะต้องใช้คำพูดรุนแรง หรือการใส่อารมณ์ เพียงเพื่อต้องการหาข้อสรุปของการพูดคุย ดังนั้น ในบทความนี้ จะแนะนำวิธีการพูด ยังไงที่จะช่วยให้คุณสามารถพูดได้อย่างมีน้ำหนัก แต่ไม่มีความรุนแรง ดีต่อทั้งตัวคุณเอง และคู่สนทนา
- ตั้งสติและทำใจให้สงบ
เมื่อรู้ว่า ต้องพูดคุยโต้เถียงในประเด็น ที่ไม่ลงรอยกัน และอาจจะเริ่มมีความรู้สึกที่ตึงเครียด โกรธ หรือไม่พอใจ ซึ่งกันและกัน จนอาจทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ เราต้องตั้งสติ เป็นผู้ฟังที่ดี ใจเย็น และรับฟังคู่สนทนาก่อน อย่างตั้งใจ โดยไม่โต้เถียงกันโดยไม่ได้ฟังเหตุผล หรือความต้องการของอีกฝ่าย
- เลือกใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง
เพราะการใช้คำพูดแต่ละคำ นั้นสามารถสื่อสาร ถึงความหมาย อารมณ์ และระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันได้ ฉะนั้นควรเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายบ่งบอกถึงการคุกคาม หรือโจมตีกับผู้ฟัง และรู้สึกว่าถูกดุด่า หรือทำให้รู้สึกเสียหายทางจิตใจโดยตรง ควรเลือกใช้คำที่สุภาพ ที่เหมาะกับบรรยากาศ กาลเทศะ โดยที่ยังคงสื่อเนื้อหาใจความเดิมได้ เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน และราบรื่น
- อธิบายความคิดของตัวเอง
แทนที่จะเถียงกันตรงๆ หรือใช้คำพูดที่อาจจะสร้างความขัดแย้ง เราสามารถใช้วิธีการอธิบายความคิดเห็นของเราให้กับผู้อื่นได้รับรู้ในมุมของเรา เพราะบางครั้ง แต่ละคนอาจจะไม่ได้มองในมุมเดียวกัน หรือต่างคนต่างมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ลองอธิบายความคิดเห็นในมุมมองของคุณดู ว่าคุณคิดอย่างไร เพราะอะไร แบบเป็นขั้นเป็นตอนและสมเหตุสมผล ด้วยวิธีการนี้ผู้อื่นจะได้เข้าใจคุณและเห็นภาพมุมมองของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- ผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจ ด้วยการพัก
ผ่อนคลาย พักผ่อนบ้าง เพราะหากคุณมีความเครียดสะสมมา ก็เป็นไปได้มากที่จะมีการใช้ความรุนแรง ทางอารมณ์ที่เลวร้ายแฝงอยู่ในคำพูด โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ การหาช่วงเวลาพักผ่อนจึงอาจช่วยให้คุณลดความรุนแรงของคำพูดลงได้ ลองทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณสามารถพักผ่อน เช่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือกิจกรรมที่คุณชอบดูนะ
แต่ถ้าหากต้องเถียงหรือโต้แย้งหาสาเหตุจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้าน/ในที่ทำงานบ่อยๆ ลองใช้กล้องวงจรปิดแบบที่บันทึกเสียงได้ดูสิ เช่น กล้องสุขใจ หรือกล้องรหัส TIOT1001 ซึ่งหันมองตามคนได้รอบทิศทาง เก็บได้ทุกเหตุการณ์ที่สำคัญ คุณจะได้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและมีหลักฐาน พร้อมทั้งอาจใช้เสียงที่บันทึกไว้ในการทำความเข้าใจปัญหาต่างๆได้มากยิ่งขึ้นด้วย
การติดกล้องจึงมีส่วนช่วยลดความรุนแรงได้ดี ทั้งในบ้านและในที่ทำงาน หากยังไม่มีก็แนะนำให้ลองหามาใช้สักตัวครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองด้วยนะ สั่งซื้อได้ที่นี่เลย:
Line:@watashicctv bit.ly/Watashi-LineSupport